top of page

สรุปรายละเอียด ก่อนการลงจอดสู่พื้นดาวอังคารของ Perseverance Rover

NASA เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆในขณะที่ยานสำรวจ Mars 2020 Perseverance เข้าใกล้การลงจอดดาวเคราะห์แดงโดยมีกำหนดทัชดาวน์ในเวลาประมาณ 03:55 น. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย

 

ถ่ายทอดสดการลงจอดของ Perseverance Rover

Official Stream of NASA TV's Media Channel

 

เริ่มปล่อยยาน

ขอย้อนกลับไปตอนเริ่มปล่อยยาน ณ ศูนย์อวกาศแคเนดี แหลมคานาเวอรัล จรวด Atlas 5 ของ ULA พร้อมจะออกเดินทาง เพื่อนำยาน Perseverance สู่ดาวอังคาร ตามกำหนดเวลา นั่นคือ 18:50 เย็นวันที่ 30 ก.ค.63 นี้ ตามเวลาในประเทศไทย

จุดมุ่งหมาย

ยาน “เพอซีเวเรียนซ์” Perseverance จะเดินทางราว 7 เดือน มีกำหนดถึงดาวอังคารในววันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 และจะลงจอดในบริเวณทะเลสาบโบราณ ซึ่งก็คือหลุมอุกกาบาต Jezero ที่มีทางน้ำไหลเข้าออกเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ซึ่งทีมงานคาดว่าจุดที่มีน้ำไหลเข้าน่าจะเคยเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มาก่อนจะเหือดแห้งลงในทุกวันนี้ และจะเป็นจุดที่ยาน Perseverance จะขุดเจาะสำรวจหาร่องรอยของจุลชีพโบราณ ยานจะเก็บรวบรวมตัวอย่างดินใส่แคปซูล เพื่อให้ยานรุ่นน้องที่จะตามไปในอีกหลายปีข้างหน้าทำหน้าที่นำกลับโลก

ยาน Perseverance จะมีแขนหุ่นยนต์พร้อมหัวสว่านเจาะพื้น มีกล้องถ่ายภาพหลากหลายขนิด มีไมโครโฟนตัวแรกในประวัติศาสตร์ที่จะนำไปที่บันทึกเสียงบนดาวเคราะห์ดวงอื่น และมีเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity ยานบินที่พยุงตัวด้วยอากาศลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ที่จะได้ทดลองบินบนดาวเคราะห์ที่ไม่ใช่โลกของเรา

ยาน Perseverance เป็นยานรุ่นน้องของยาน Curiosity ของ NASA ที่เดินทางไปสำรวจดาวอังคารล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ปี 2555 แต่ได้อัพเกรดสารพัดอุปกรณ์จนถือได้ว่าเป็น หุ่นยนตโรเวอร์สำรวจผิวดาวเคราะห์ที่ทันสมัยที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา

การลงจอด

เดินทางสู่ดาวอังคารโดยกำหนดถึงดาวอังคารในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 และลงจอดที่ Jezero Crater ซึ่งในอดีตนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าที่ Jezero Crater นั่นเคยมีน้ำอยู่และอาจเป็นที่ที่เราสามารถค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต

<เเผนภาพจำลองวิถีการเดินทางของ Perseverance จากโลกสู่ดาวอังคาร>

Jezero Crater เป็นหลุมอุกกาบาตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 49 กิโลเมตร อยู่ที่ขอบของ Isidis Basin มีพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นดินเหนียว ในปี 2007 นักดาราศาสตร์พบพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นร่องน้ำจึงตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตนี้ว่า Jezero ซึ่งแปลว่าทะเลสาบ

Mars Reconnaissance Orbiter หรือ MRO ที่โคจรอยู่ในวงโคจรดาวอังคารตรวจพบดินที่มีลักษณะเหมือนดินเหนียวในพื้นที่ของ Jezero Crater บ่งบอกว่าพื้นที่ตรงนี้อาจเคยมีน้ำในอดีตและจากการตรวจสอบลวดลายของดินพบว่ามีลักษณะเป็นแบบ Polygonal ซึ่งปกติแล้วดินลักษณะ Polygonal จะเกิดจากดินเหนียวที่แห้งทำให้เกิดเป็นรูปร่างแตกแบบ Polygonal


จากภาพข้างบนจะสังเกตได้ว่ามีร่องลึกที่มีลักษณะเหมือนคลองหรือแม่น้ำมาบรรจบกับหลุมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า Jezero Crater อาจจะเคยเป็นทะเลสาบก็เป็นได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่าบริเวณปากของคลองใน Jezero Crater เป็นลักษณะแบบ Delta-like deposit ซึ่งก็คือมีชั้นของตะกอนกองอยู่ตรงปากคลอง (สามารถสังเกตได้จากรูปว่าตรงปากคลองมันจะนูน ๆ กว่าปกติ) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการเกิด Delta-like deposit นั้นจะเกิดจากการที่คลองพัดพวกเศษตะกอนออกมากองเหมือนบนโลกจึงสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าดาวอังคารเคยมีน้ำ

ในเดือน พฤศจิกายน 2018 Jezero Crater ถูกเลือกให้เป็นจุดลงจอดของภารกิจ Mars 2020 ซึ่งมีเป้าหมายคือค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตเพราะว่าในเมื่อ Jezero Crater อาจเคยมีน้ำ ฉะนั้นมันก็ต้องมีร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทิ้งไว้บ้างถ้าหากเคยมีสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำบนดาวอังคารในอดีต โดยตำแหน่งที่ถูกกำหนดไว้คือบริเวณ Sediment layer หรือชั้นของตะกอนซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าเราจะพบอะไรสักอย่างแน่ ๆ

อุปกรณ์ที่ติดตั้ง

ทางทีมงานของเราขออนุญาตเก็บส่วนนี้ไว้ทำเป็นบทความในรอบถัดไป เเต่ว่าทางเราก็ได้นำภาพสรุปอุปกรณ์ที่ติดตั้งของ Perseverance Rover

การลงจอด

ก่อนที่จะไปถึงจุดที่เราจะได้เริ่มภารกิจ Mars 2020 บนดาวอังคารนั้น Perseverance rover จะต้องผ่านขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางของมันเรียกว่า EDL หรือ Entry, Descent, Landing ซึ่งเป็นขั้นตอนการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของยานจนไปถึงการลงจอด ซึ่งระหว่างการลงจอด วิศวกรบนโลกจะไม่สามารถควบคุมยานได้เลยแม้แต่น้อยและจะทำได้เพียงเฝ้ามองผ่านไฟลท์จำลองเท่านั้นเพราะสัญญาณที่ส่งจากดาวอังคารถึงโลกจะดีเลย์อย่างมีนัยสำคัญจนทำให้การ Monitor ต่าง ๆ ไม่เป็น Realtime และวิศวกรจะไม่มีทางรู้เลยว่ายานลงจอดหรือยังจนกว่าสัญญาณจะเดินทางมาถึง คล้าย ๆ 7 นาทีแห่งความเป็นความตายของยาน InSight โรเวอร์ Perseverance ก็มี 7 นาทีแห่งความเป็นความตายเช่นกัน

ซึ่งในห่วงเวลานี้วิศวกรจะได้แต่ลุ้นกับข้อมูลที่ทยอยส่งมาจากยานว่าสถานะเป็นอย่างไร แต่ในขณะนั้นยานคงลงจอดไม่ก็พังไปแล้วก็เป็นได้ ระบบ EDL จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลงจอดและทุกอย่างจะต้องเป็นอัตโนมัติ ไม่พึ่งคำสั่งจากโลกและจะต้องดักทุกเคสที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อป้องกันความเสียหายทุกรูปแบบนั่นเอง

ในอดีตการลงจอดโรเวอร์บนดาวอังคารเราอาศัยบอลลูนในการรับแรงกระแทกระหว่างลงจอดด้วยการปลดตัวโรเวอร์ออกจาก Descent stage เมื่อใกล้ถึงพื้นจากนั้นจึงปล่อยให้บอลลูนที่หุ้มโรเวอร์อยู่เด้งไปตามแรงกระแทกจนหยุดจากนั้นจึงค่อยปล่อยลมบอลลูนออกและปล่อยตัวโรเวอร์ออกมา ในยุคของ Curiosity ที่นับได้ว่าเหมือนเป็นพี่ของ Perseverance การลงจอดอาศัยสิ่งที่เรียกว่า Sky Crane ในการช่วยลงจอดโดยตัว Sky Crane จะเป็นเหมือน Crane บินได้ด้วยเครื่องยนต์จรวด 8 เครื่อง ซึ่งใช้สำหรับหย่อนโรเวอร์ลงพื้นแบบนุ่ม ๆ ที่ความเร็ว 2.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นจึงปลดสาย Cable ออกแล้วแยกตัวออกจากโรเวอร์เพื่อบินออกจากพื้นที่


เมื่อถึงพื้นดาวอังคารอย่างเสร็จสมบูรณ์เเล้ว ยานจะเริ่มทำงานโดยทันที Perseverance จะช่วยนักดาราศาสตร์ไขปัญหาของดาวอังคารในแง่ของการเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางไปเยี่ยมเยือนโดยมนุษย์ในอนาคต เเละจะมีการค้นพบอะไรเกิดขึ้นก็ต้องติดตามกันต่อไป


*ข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาด หรือขาดองค์ประกอบใดๆ ทางทีมงานขออภัยเเละจะรีบเเก้ไขให้เร็วที่สุด*

-NASA

-spaceth.co

กดติดตามข่าวสารใหม่ๆ

TWITTER : sciencesssss1


80 views

Comments


  • YouTube
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
7.png

       ❝ขอบคุณที่สนับสนุนพวกเรา พวกเราจะทำให้sciencesssssเป็นหนึ่งในเพจวิทยาศาสตร์ ที่รวบรวมความรู้เเละข่าวใหม่ๆที่เร็วที่สุดในประเทศไทย❞

CEO,sciencesssss

bottom of page