top of page

ความรักกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร (ทฤษฎีรัก 3 ตอน)

สำหรับบทควาามนี้จะขอกล่าวถึงทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอนด้วยกัน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันในร่างกายมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอนของการเริ่มมีความรัก ดังนี้



ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหา : ในช่วงตัณหาร่างกายจะถูกขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้มีในเฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการอยากได้โน่นอยากได้นี่ของเรานั่นเอง



ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรัก : เป็นช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่งฝันละเมอถึงแต่คนรัก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบไปด้วย

1. โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีในร่างกายที่ทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอด เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน 2. นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในชื่อของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น 3. เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการซึม เหงา เพราะรักได้



ตอนที่ 3 ช่วงผูกพัน : ไม่มีใครที่สามารถคลั่งรักได้ตลิดชีวิตหรือตลอดเวลา เพราะเมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ความรักของเรากับเขาอาจจะพังทลายลงไปหรือถ้าถ้าผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาได้ ก็จะเข้าสู่ช่วงประตูววิวาห์แต่งงานกัน ก้าวเข้าสู่อีกหนึ่งช่วงแห่งชีวิตรัก โดยจะมีฮอร์โมน 2 ตัวที่สำคัญก็คือ

1. ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ลึกซึ้ง ทฤษฎีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น 2. วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ


นอกจากนี้ก็ยังมีทฤษฎีที่เรียกว่าสามเหลี่ยมเเห่งความรัก ที่กล่าวถึงอัตราส่วนความรักที่สมบูรณ์ ซึ่งเราจะกล่าวกันในบทความอื่นๆ

ติดตามที่ : https://sciencesssssmail.wixsite.com/website



-ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์

133 views

Comments


  • YouTube
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
7.png

       ❝ขอบคุณที่สนับสนุนพวกเรา พวกเราจะทำให้sciencesssssเป็นหนึ่งในเพจวิทยาศาสตร์ ที่รวบรวมความรู้เเละข่าวใหม่ๆที่เร็วที่สุดในประเทศไทย❞

CEO,sciencesssss

bottom of page